1. Ariocarpus
มีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 8
ชนิดกับอีก 2-3 สายพันธุ์ ชื่อสกุล Ariocarpus นี้มาจากคำว่า
Aria ซึ่งหมายถึงผลของแคคตัสสกุลนี้นั่นเอง
ลักษณะของแคคตัสในสกลุนี้ส่วนใหญ่จะมีลำต้นขนาดเล็ก (เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 - 15 เซนติเมตร) มักจะขึ้นเป็นต้นยาวๆ หรืออยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ต้นอาจเตี้ยจนมีผิวด้านบนเสมอกับพื้นดิน
แคคตัสสกลุนี้บางชนิดจะมีเนินหนามซึ่งอาจยาวได้ถึง
5 เซนติเมตร เช่น Ariocarpus tri gonus บางชนิดก็มีขนปุยนุ่มอยู่ที่ซอกเนินหนามซึ่งเป็นบริเวณที่ออกดอกแต่จะมีบางชนิดที่ออกดอกบริเวณยอดของต้น
ดอกมีลักษณะเป็นรูปกรวย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 - 5
เซนติเมตร ดอกมักมีสีขาวหรือสีครีม มีบางชนิด เช่น Ariocarpus
lotschoubeyanus มีดอกสีชมพูหรือสีม่วงแดง
ผลมีลักษณะเป็นทรงกระบอก ยาวประมาณ 1.25-2.5
เซนติเมตร
แคคตัสสกุล Ariocarpus มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือของประเทศเม็กซิโกและทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา
แคคตัสสกุลนี้เจริญเติบโตช้าและจะเจริญเติบโตได้ดีตามหินหรือททรายที่สามารถระบายน้ำได้
ทนแสงจัดได้ดี
2. Artrophytum
แคคตัสสกุลนี้มีอยู่ด้วยกัน 4
ชนิด และอีกหลายสายพันธุ์ ชื่อสกุล Astrophytum มาจากภาษากรีก
แปลว่าพืชดาว ลำต้นอ้วนกลม หรือเป็นทรงการบอก บางชนิดอาจมีความสูงถึง 1
เมตร เช่น Astorphytum ornatum ลำต้นแข็ง
บางชนิดจะมีปุยหรือเกล็ดสีขาวปกคลุมอยู่ บริเวณลำต้นมี สันต้น 5- 9
สัน อาจมีหนามหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ตุ่มหนามมีลักษณะเป็นปุยสีขาวคล้ายสำลี
หนามกลางและหนามข้างมีขนาดใกล้เคียงกัน จึงไม่สามารถแยกได้ชัดเจนนัก
หนามมีขนาดยาวประมาณ 3 – 10 เซนติเมตร
แคคตัสสกุลนี้ออกดอกเป็นรูปกรวย
บริเวณตอนกลางด้านบนของต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 – 9
เซนติเมตร สีของดอกส่วนมาก จะอยู่ในโทนสีเหลือง แต่อาจจะมีสีอื่นๆผสมอยู่ในดอกเดียวกัน
เช่น กลีบอกสีเหลือง บริเวณโคนกลีบและกลางดอกอาจจะเป็นสีส้มหรือสีแดง เป็นต้น
ลักษณะผลเป็นทรงกลม มีขนาด 2.5 เซนติเมตร
บางชนิดผลจะมีหนามปกคลุมคล้ายกับต้น เมื่อผลแก่เต็มที่จะแตกออกทางด้านโคน
ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
แคคตัสสกุล Astophytum มีถิ่นกำเนิดแถบตอนกลาง
ตอนเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือ ของประเทศเม็กซิโก ยกเว้น Astrophytum
asterias ซึ่งมีถิ่นกำเนิดมาจากแถบตะวันตกเฉียงใต้ ของประเทศสหรัฐอเมริกา
แคคตัสสกุลนี้สามารถเจริญเติบโตได้ที่ระดับความสูงกว่า 2100
เมตร และเจริญเติบโตได้ในหลายพื้นที่ เช่น ระหว่างซอกหินทะเลทราย
หรือใกล้กับไม้พุ่มจำพวกซีโรไฟต์ ( xerophytic bushes) ออกดอกว่าย
โอยส่วนใหญ่ ใช้เวลา 3 – 6 ปี ก็จะได้ดอก
และสามารถเพราะจากเมล็ดได้
3. Corypantha
แคคตัสในสกุลนี้ประกอบด้วย 40
ชนิดและหลายสายพันธุ์ ชื่อ Corypantha มาจากภาษากรีก หมายถึง ยอด และ ดอก
รวมแล้วหมายถึง ตำแหน่งการออกดอกบนต้น ทรงต้นมีหลากหลายรูปแบบ
มีทั้งที่เป็นทรงกลมขนาดใหญ่ และเล็ก ทรงกระบอก ทรงแท่งเล็ก ความสูงประมาณ 30
เซนติเมตร อาจพบขึ้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นต้นเดี่ยวกลุ่มที่มีอายุหลายปีอาจมีอยู่รวมกันถึง
50 หัวหรือมากกว่านั้น
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอาจยาวถึง 65 เซนติเมตร เช่น Corypantha
recurvata ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของรัฐแอริโซนา
พบว่ามีถึง 200 หัว ตุ่มหนามมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่
ประกอบด้วยหนาม 30 อัน ในลักษณะกระจาย หนามยาว 2.5
เซนติเมตร มีสีสันมากมายหลากหลายตั้งแต่สีเหลือง สีชมพู สีส้ม จนถึงสีม่วงแดง
บางชนิดกลีบดอกจะมีลักษณะเป็นรอยหยักเล็กๆ ที่ปลายกลีบ
ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ขนาดเล็ก ยาวถึง 5 เซนติเมตร
เมื่อแก่จะเป็นสีเขียวจนถึงโทนสีแดง
แคคตัสสกุล Corypantha มีถิ่นกำเนิดอยู่ในหลายแห่ง
ทั้งทางเหนือสุดของรัฐอัลเบอร์ตาในประเทศแคนาดา
ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา และในประเทศเม็กซิโก
พบได้ที่ระดับความสูง 2000 เมตร บางชนิดเช่น Corypantha
vivipara นั้น พบได้ในหลายสภาพพื้นที่ เช่น
ทางตอนเหนือที่อากาศหนาวเย็นของรัซอัลเบอร์ตาในเขตทุ่งหญ้า และบริเวณป่า
แคคตัสในสกุลนี้ปลูกเลี้ยงง่าย
ขยายพันธุ์ได้ทั้งเพราะเมล็ดและตัดแยก
บางครั้งพบว่าหัวที่งอกใหม่นั้นมักมีรากงอกติดอยู่ด้วยในฤดูร้อนและฤดูฝนจะชอบน้ำมาก
แต่ถ้างดให้น้ำในฤดูหนาวจะช่วยให้ทนต่อ อุณหภูมิต่ำได้ดี
4. Discocactus
แคคตัสสกุลนี้มีอยู่ไม่เกิน 20
ชนิด เจริญเติบโตได้ช้า มักขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ ทรงกลมแป้น
เมื่อต้นมีอายุมากขึ้นอาจจะแตกหน่อหรือกิ่งก้านได้ ต้นมีหลายสี ตั้งแต่สีเขียวอ่อน
สีเขียวอมน้ำตาล และสีม่วงเข้ม ต้นเป็นสัน 10 -25
สัน และมีตุ่มหนามเป็นปุยนุ่ม ประกอบด้วยหนามข้าง 5 – 20
อัน แต่ละอันยาวประมาณ 3 เซนติเมตร หนามทั้ง 2
ชนิด สามารถจำแนกออกจากกันได้อย่างชัดเจน หนามมีหลายสี ตั้งแต่สีขาว สีเหลือง
สีน้ำตาล จนถึงสีดำ
แคคตัสสกุล Discocactus มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศบราซิล
โบลิเวีย และปารากวัย
การนำต้นไปเพาะเลี้ยงที่อื่นนอกถิ่นกำเนิดนั้นมักจะนิยมเพาะต้นจากเมล็ดมากกว่าการนำต้นที่โตแล้วไปเลี้ยงเพราะต้นจะตายได้ง่าย
แคคตัสสกุลนี้เจริญเติบโตได้ดีในดินทรายที่มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์
บางครั้งอาจจะใช้ดินผสมก็ได้ แต่ต้องมีการระลายน้ำที่ดี
ต้นไม่สามารถทนต่ออุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียสได้
5. Echinocactus
แคคตัสสกุลนี้มีอยู่มากกว่า 10
ชนิด ต้นมีทรงกลมถึงทรงกระบอก อาจขึ้นเป็นต้นเดี่ยวหรืออยู่รวมกันเป็นกลุ่ม บางชนิดมีขนาดใหญ่มาก
อาจมีความสูงถึง 1.8 เมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 1
เมตร ผิวต้นมีสีเขียวอมห้า เนื้อเยื่อชั้น epidermis ( เนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของสิ่งมีชีวิต
ทำหน้าที่ปกป้องเซลล์ชั้นอื่นๆ ) แข็งแรงมาก
ช่วยป้องกันอันตรายจากแสงแดดที่ร้อนแรงได้ดี ตอนกลางด้านบนของต้นจะมีปุยสีขาวถึงสีเหลื่องปกคลุมลำต้นเป็นสัน
8 – 50 สัน มีตุ่มหนามอยู่ห่างกันเห็นได้ชัดเจน
ประกอบด้วยหนามช้างที่ตรงหรือโค้ง แผ่กระจายออกมาจากตุ่มหนาม
แต่บางชนิดอาจแนบชิดไปกับผิวต้น มีความแข็งแรงมาก ประมาณ 5 – 12
อัน ยาวมากกว่า 5 เซนติเมตรและมีหนามกลางที่แข็งกว่ายื่นตรงออกมาจากต้น
1 – 4 อัน ยาวประมาณอันละ 5 – 10
เซนติเมตร สีหนามมีตั้งแต่สีขาว สีชมพู สีเหลืองทองจนถึงสีดำ
ดอกออกเป็นวงรอบยอดของต้นซึ่งมีปุยนุ่ม
ส่วนชนิดที่ต้นมีขนาดใหญ่จะออกดอกเป็นวงรอบส่วนบนของต้น ดอกมีหลายสี
แต่ส่วนมากอยู่ในโทนสีเหลือง ยกเว้น Echinocactus horizonthalonius ซึ่งมีดอกสีชมพูจนถึงสีม่วง
ดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.25 เซนติเมตรหลอดดอกมีลักษณะเป็นปุยนุ่ม
เมื่อบานจะแผ่กว้างออก ผลมีสีเหมือนกับส่วนปุยนุ่มบนต้น
ผิวภายนอกมีลักษณะเป็นขนหรือปุยนุ่มปกคลุมเมื่อแก่เต็มที่จะแห้ง
แคคตัสสกุล Echinocactus มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนกลางและทางเหนือของประเทศเม็กซิโก
และทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา
มักพบอยู่ตามบริเวณที่เป็นหินหรือพุ่มไม้ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดได้ดี
เจริญเติบโตเร็ว โดยเฉพาะ Echinocactus grusonii แต่มีบางชนิด
เช่น Echinocactus horizonthalonius และ Echinocactus polycephalus นั้น
จะเจริญเติบโตช้า หากเกิดจากการเพาะเมล็ดเมื่อต้นยังเล็ก
ควรระวังอันจรายจากอุณหภูมิต่ำและควรงดให้น้ำเมื่อถึงฤดูหนาว
6. Gymnocalicium
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่มากว่า 120
ชนิดและอีกหลายสายพันธุ์ชื่อสกุล Gymnocalycium มาจากภาษากรีก
หมายถึง ตาเปลือย ( naked bud ) แคคตัสในสกุลนี้เป็นสกุลที่น่าสนใจ
เพราะมีลักษณะรูปทรงแตกต่างกันออกไปและมีดอกที่มีสีสันสวยงาม
ลางชนิดอาจมีขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 7.5
เซนติเมตร เช่น Gymnocalycium baldianum แต่บางชนิดก็อาจจะมีขนาดใหญ่
มีขานดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 20 เซนติเมตร เช่น Gymnocalycium
spegazzinii ชนิดที่มีต้นขนาดเล็กมักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
ส่วนชนิดที่มีขนาดใหญ่มักจะพบขึ้นอยู่เป็นต้นเดี่ยวๆ สีของต้นมีตั้งแต่สีเขียวถึงสีน้ำตาลแดงหรือเป็นสีเทาคล้ายหินชนวน
ลำต้นเป็นสันประมาณ 6 – 20 สัน มีลักษณะยื่นออกมาคล้ายคาง
ตุ่มหนามมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่ ปกคลุมด้วยปุยสีขาวหรือสีเหลือง
ในต้นที่มีขนาดเล็กตุ่มหนามจะอยู่ชิดติดกัน
ส่วนในต้นที่มีขนาดใหญ่นั้นตุ่มหนามจะอยู่ห่างกัน
ตุ่มหนามประกอบไปด้วยหนามข้างที่ละเอียดกระจายแยกออกจากกันแนบกับลำต้น
มีอยู่ประมาณ 2 – 12 อันและยาวประมาณ 1 – 6
เซนติเมตร ส่วนหนามกลางจะยาวกว่าหนามข้างเล็กน้อย มีลักษณะแข็ง
โผล่ตั้งออกมาจากลำต้น และมีหลายสี ดอกมีกลายลักษณะ มีทั้งที่เป็นทรงกรวยและทรงระฆัง
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 – 7.5 เซนติเมตร มีหลายสี เช่น สีขาว
สีเขียว สีชมพู และสีแดง ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ เมื่อแก่จะเป็นสีเขียวปนน้ำตาล
สีแดง หรือ สีเทาคล้ายหินชนวน ผิวของผลมีลักษณะเป็นเกล็ดซ้อนกันเป็นชั้นๆ
คล้ายกับผิวนอกของหลอดดอก มีขนาดยาวประมาณ 3.5
เซนติเมตร
แคคตัสในสกุล
Gymnocalycium มีถิ่นกำเนิดอยู่ในหลายๆพื้นที่ของประเทศอาร์เจนตินา
โบลิเวีย ปารากวัย และอุรุกวัย พบได้ในหลายพื้นที่ ทั้งในที่ที่มีระดับความสูง 3500
เมตร ในทุ่งหญ้า หิน ดิน ทราย ลางชนิดที่มีรูปร่างอ้วน กลม นั้น
เคยพบว่าถูกฝังอยู่ในทรายตลอดฤดูร้อน แคคตัสในสกุลนี้ลูกเลี้ยงง่าย
สามารถออกดอกได้ภายในเวลา 2 – 3 ปี ในช่วงฤดูร้อนควรให้น้ำมาก
แต่ควรงดให้น้ำในช่วงฤดูหนาวเพื่อให้สามารถทนต่ออุณหภูมิต่ำได้
7. Lophophora
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่เพียง 2
ชนิด แต่มีหลากหลายสายพันธุ์ชื่อสกุล L0phophora มาจากภาษากรีก
หมายถึง การผลิตดอกออกผลที่ส่วนยอด ( crest – bearing ) ลักษณะลำต้นเป็นทรงกลม
อ่อนนุ่ม สีเหลืองซีดจนถึงสีเขียวอมฟ้า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 – 13
เซนติเมตร มีทั้งที่ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ และเป็นกลุ่ม เป็นระบบรากสมบูรณ์ลำต้นเป็นสัน
5 – 13 สัน ตุ่มหนามเป็นปุย สีขาว
อยู่ห่างกันเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ไม่มีหนาม ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีเหลืองครีม
และสีชมพู จะมีเส้นสีเข้มตรงกลางตามความยาวของกลีบดอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.25
– 2.5 เซนติเมตร จะเกิดดอกบริเวณยอดที่มีสีขาวปกคลุมผลมีลักษณะยาว
รี ค่อนข้างเล็ก เมื่อแก่จะเป็นสีขาว สีชมพู หรือสีแดงภายในจะมีเมล็ดอยู่ 2
– 3 เมล็ด
แคคตัสในกลุ่ม Lophophora มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนกลางของประเทศเม็กซิโกและทางตะวันออกเฉียงหนือของประเทศสหรัฐอเมริกาเช่น
ในรัฐเท็กซัส สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียวหรือดินทรายโตช้า แต่ให้ผลได้ง่าย
สามารถออกดอกภายในเวลา 5 – 6 ปี
8. Mammillaria
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่เพียง 2
ชนิด แต่มีหลากหลายสายพันธุ์ชื่อสกุล L0phophora มาจากภาษากรีก
หมายถึง การผลิตดอกออกผลที่ส่วนยอด ( crest – bearing ) ลักษณะลำต้นเป็นทรงกลม
อ่อนนุ่ม สีเหลืองซีดจนถึงสีเขียวอมฟ้า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 – 13
เซนติเมตร มีทั้งที่ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ และเป็นกลุ่ม
เป็นระบบรากสมบูรณ์ลำต้นเป็นสัน 5 – 13 สัน ตุ่มหนามเป็นปุย สีขาว
อยู่ห่างกันเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ไม่มีหนาม ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีเหลืองครีม
และสีชมพู จะมีเส้นสีเข้มตรงกลางตามความยาวของกลีบดอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.25
– 2.5 เซนติเมตร
จะเกิดดอกบริเวณยอดที่มีสีขาวปกคลุมผลมีลักษณะยาว รี ค่อนข้างเล็ก
เมื่อแก่จะเป็นสีขาว สีชมพู หรือสีแดงภายในจะมีเมล็ดอยู่ 2 – 3
เมล็ด
แคคตัสในกลุ่ม Lophophora มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนกลางของประเทศเม็กซิโกและทางตะวันออกเฉียงหนือของประเทศสหรัฐอเมริกาเช่น
ในรัฐเท็กซัส สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียวหรือดินทรายโตช้า แต่ให้ผลได้ง่าย
สามารถออกดอกภายในเวลา 5 – 6 ปี
9. Melocactus
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่มากมายกว่า 60
ชนิด ชื่อสกุล Melecactus มาจากภาษากรีกว่า Melos ( Melon
) หมายถึง รูปทรงของต้นที่เป็นทรงกลมแป้นหรือทรงการะบอก
มีทั้งที่ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ หรือชึ้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
เมื่อต้นเจริญเติบโตเต็มที่จนถึงระยะผลิตดอกออกผลจะเกิดปุยนุ่มที่เรียกว่า cephalium
ที่บริเวณยอดของต้น ซึ่งดอกและผลก็จะเกิดขึ้นในบริเวณนี้ด้วย
แคคตัสในสกุลนี้มีลำต้นสูงประมาณ 10
– 20 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง เป็นสันประมาณ 9 – 20
สัน มีตุ่มหนามรูปไข่ขนาด 2.5 เซนติเมตร
ประกอบไปด้วยหนามข้างที่มีลักษณะโค้งงอ แนบขนานไปกับนำต้น ประมาณ 8 – 15
อัน แต่ละอันยาวประมาณ 1.25 7.5 เซนติเมตร ส่วนหนามกลางยื่นตรงออกมาจากลำต้น
มีอยู่ประมาณ 1 – 5 อัน และยาว 2 – 9
เซนติเมตร ทั้งหนามกลางและหนามข้างแข็งแรงมาก
ยกเว้นชนิดที่มีหนามสั้นซึ่งหนามมักอ่อนและละเอียด สีหนามมีหลายสี เช่น สีขาว
น้ำตาลออกแดงเข้ม และดำ บริเวณ cephalium ประกอบด้วยขนสีขาวหรือสีอื่นๆ และอาจมีหนามแข็งสีต่างๆ
ได้ด้วยดอกมีสีออกโทนม่วงแดง มักออกเป็นวงและฝั่งจมอยู่ใน cephalium มีขนาดยาวประมาณ
1.25 – 3.75 เซนติเมตร โดยความยาวของดอกซ่อนอยู่ใน cephalium
ผลมีลักษณะยาวเป็นทรงไม่พลอง ยาวมากกว่า 2.5
เซนติเมตร เมื่อแก่จะมีสีชมพูถึงสีแดงแจ่มจ้า บางครั้งผลก็จะจมอยู่ใน cephalium
ไม่ปรากฏออกมาให้เห็น
แคคตัสสกุล
Melocactus พบมากที่สุดในบริเวณตอนใต้ของหมุ่เกาะเวสต์อินดีส
ทางตอนใต้ของประเทศเม็กซิโก สหรัฐอเมริกาและบราซิล ขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยเมล็ด
เจริญเติบโตได้ดีในหลายๆ พื้นที่และหลายๆ สภาพแวดล้อม จะใช้เวลาประมาณ 5 –
10 ต้นจึงจะสร้าง cephalium แต่ถ้าเป็นชนิดที่ต้นมีขนาดเล็กอาจจะต้องใช้เวลามากกว่านี้ในช่วงฤดูร้อนมีความต้องการน้ำมาก
แต่ควรงดให้น้ำในช่วงฤดูหนาว
10. Obregonia
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่เพียงชนิดเดียว
คือ Obregonia denegrii ซึ่งได้รับการค้นพบในปี พ.ศ. 2468
ชื่อสกุล Obregonia ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีของประเทศเม็กซิโก
คือ Alvaro Obregon ลักษณะลำต้นเป็นทรงกลม มีจุดเด่นคือ
เป็นกลีบหนา สีเขียว ปลายงอนแหลม เรียงหงายซ้อนกันเป็นชั้น
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร และมีขนาดฐานกว้างถึง 2.5
เซนติเมตร ตุ่มหนามอยู่บริเวณปลายกลีบ มีปุยนุ่มสีขาว ประกอบไปด้วยหนาม 4
อัน แต่ละอันยาวมากกว่า 1.5 เซนติเมตร
ดอกจะเกิดบริเวณปุยนุ่มตรงกลางยอดของต้น มีสีขาวหรือสีชมพูซีด
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร ส่วนผลมีสีขาวหรือสีชมพูซีด
ขนาดเล็ก เมื่อแห้งจะแตกออก
แคคตัสกลุล Obregonia มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางแถบตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเม็กซิโก
ขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยเมล็ด ชอบขึ้นใต้ร่มเงาของต้นไม่จำพวก xerophyte เจริญเติบโตค่อนข้างช้า
ของดินที่มีการะบายน้ำดี ชอบร่มเงา
ถ้าต้นได้รับแสงมากเกินไปจะแดงและชะงักการเจริญเติบโต
11. Opuntia
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่มากมายกว่า 400
ชนิดและอีกหลากหลายสายพันธุ์ ชื่อสกุล Opuntia มาจากชื่อเมือง
Opuntia ในประเทศกรีซ แคคตัสในสกุลนี้มีหลากหลายลักษณะ
มีทั้งต้นเล็ก เป็นทรางกลมต่อๆ กันจนถึงชนิดที่มีขนาดใหญ่ เป็นทรงการะบอกต่อกัน
และสูงกว่า 2 เมตร
และบางครั้งก็พบว่ามีลักษณะสูงใหญ่เหมือนไม้ยืนต้นส่วนหนามก็มีทั้งแบบแข็ง ยาว และ
เป็นอันตราย เช่น O[untia bigelovii หรือเป็นแบบอ่อนคล้ายการะดาษ เช่น Opuntia
platyacantha ดอกของแคคตัสใสสกุลนี้ไม่มีท่อดอก
แต่ส่วนรังไข่มีขนาดใหญ่ปกคลุมด้วยหนาม ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีเหลือง สีน้ม
สีแดง และ สีม่วงแดง มักจะออกดอกดกและสวยงามมาก ส่วนผลมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่
เมื่อแก่จะมีสีเหลืองถึงสีแดง ขนาดเส็นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 - 7.5
เซนติเมตร แคคตัสในสกุลนี้หลายชนิดสามารถผสมตัวเองจนเกิดผลและร่วงหล่นจนงอกเป็นต้นใหม่เองได้เช่น
Opuntia fulgida
แคคตัสสกุลนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศแคนาดา
ตอนใต้ของสหรัฐเอมริกา แม็กซิโก เอมริกากลาง ตะวันตกของหมู่เกาะเวสต์อินดีส
เกาะกาลาปาโกส และใต้สุดของเทียราเดลฟิวโกในพาทาโกเนีย พบได้มากในที่ที่มีระดับความสูง
3700 เมตร
จากระดับน้ำทะเลส่วนใหญ่ชอบน้ำและทนต่ออุณหภูมิต่ำได้ถึง -18
องศาเซลซียส
แต่มีบางชนิดที่มาจากทางตะวันตกของหมู่เกาะเวสต์อินดีสไม่สามารถทนอากาศหนาวเย็นได้
12. Sulcorebutia
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่ประมาณ 40
ชนิด และอีกหลายสายพันธุ์ ชื่อสกุล Sulcorebutia มาจากภาษาละตินว่า
sulcus ซึ่งหมายถึง ร่องหรือรอย
แคคตัสในสกุลนี้มีลักษณะคล้ายกับสกุล Rebutia ต่างกันตรงที่รุ่มหนามจะแคบและยาวกว่า
มักจะขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ หรือยู่ราวกันเป็นกลุ่ม ลำต้นมีลักษณะทรงกลม
เป็นสันชัดเจน มีหลายสี เช่น สีเขียว สีออกแดง หรือสีเทาอมดำ
หนามมีลักษณะเป็นรูปหวี ไม่มีหนามากลาง ดอกมีลัษณะคล้ายกับสกุล Rebutia เกิดที่บริเวณโคนต้น
กลีบดอกมีผิวมันคล้ายเคลือบด้วยขค้ผึ้ง ในบางชนิดกลีบดอกอาจะมี 2
สีปนกัน ผลมีลักษณะทรงกลมหรือเป็นรูปขอบขนาน ผิวเรียบเรือมีเกล็ดปกคลุมเล็กน้อย
แคคตัสในสกุล Sulcorebutia มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศโบลิเวียพบมากตามภูเขาสูง
เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มี่แร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี
13. Thelocactus
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่ประมาณ 25
ชนิด และอีกหลากหลายสายพันธุ์ Thelocactus มาจากภาษากรีก หมายถึง แคคตัสหัวนม ( nipple
cactus ) มีลักษณะทรงกลมถึงทรงกระบอก
สีเขียวถึงสีเทาอาจจะขั้นอยู่เป็นกลุ่มหรือเป็นต้นเดี่ยวๆ ก็ได้
โครงสร้างของพูกลีบมีลักษณะเป็นหัวย่อยๆ มากมาย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20
เซนติเมตร และสูงประมาณ 25 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสัน 20
สัน ตุ่มหนามมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่
มักมีปุยสีขาวหรือสีครีมปนอยู่ด้วยประกอบไปด้วยหนามข้างค่อนเล็กและแข็งแรงปานกลาง
มักขึ้นแผ่กระจายแนบขนานไปกับลำต้น ประมาณ 25 อัน
แต่ละอันยาวมากกว่า 3 เซนติเมตร
ส่วนหนามกลางเข็งแรงกว่าหนามข้าง มีหลาลักษณะ เช่น ตรง โค้งงอ หรืออ้วน
และมีหลายสี เช่นสีขาว สีเหลือง สีแดงและสีดำ มีอยู่ประมาณ 1 – 4
อัน ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีแดง สีม่วงแดง มี ลักษณะบานแผ่ออกกว้าง
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 – 7 เซนติเมตร
ส่วนผลมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่ เมื่อแก่จะแห้งและแตกออก
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร
แคคตัสสกุล
Thelocactus มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเม็กซิโกทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา
ขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตช้า แต่ปลูกเลี้ยงง่าย
ชอบดินที่มีการระบายน้ำดีปานกลาง ในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝนจะชอบน้ำมาก
แต่ควรงดให้น้ำในช่วงฤดูหนาวเพื่อให้สามาตรทนต่ออุณหภูมิต่ำได้
14. Uebelmannia
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่ด้วยกัน 5
ชนิด ลำต้นมีลักษณะทรงกลมถึงทรงกระบอก ขนาดเล็ก ลำต้นเป็นสันสีน้ำตาลลอมแดง
ผิวต้นเป็นมันคล้ายเคลือบด้วยขี้ผึ้ง
สันต้นประกอบไปด้วยตุ่มหนามที่มีปุยสีขาวปกคลุม และมีหนามแข็ง สั้นๆ
ตั้งตรงสีขาวอยู่ 2 – 3 อัน ดอกมีสีเหลืองลักษณะทรงกรวย ขนาดเล็ก
จะผลิดอกบริเวณปลายยอดของต้น ผลมีลักษณะทรงกลมถึงทรงกระบอก
สีเหลืองอมเขียวหรือสีแดง เกิดบริเวณลายยอดของต้น เมล็ดมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่
สีดำหรือสีน้ำตาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กาลางประมาณ 2.3
มิลลิเมตร
แคคตัสสกุล
Uebelmannia มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบประเทศบราซิลชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์
ร่มเงา ความชื้นในอากาศต่ำ และอากาศอบอุ่น
และที่สำคัญก็คือไม่ควรให้น้ำโดยการรดลงดินโดยตรงแต่ควรให้โดยการฉีดพ่นเป็นฝอยจะดีกว่า
ที่มา :
http://www.thaigoodview.com/node/60083